
รายละเอียดการทดสอบ หน่วยจุลชีววิทยาคลินิก
– รายละเอียดการทดสอบ –
|
1. วิธีเตรียมผู้ป่วยก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ
ไม่มี
|
2. ข้อกำหนดในการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
2.1 ควรส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุดหลังการเก็บ โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 1-2 ชม. 2.2 ในกรณีที่ส่งช้ากว่าที่กำหนด สิ่งส่งตรวจบางชนิดควรใส่ในอาหารนำส่ง (transport media) ที่ช่วยให้เชื้อแบคทีเรียมีชีวิตอยู่ได้และช่วยรักษาความชื้น แต่ไม่ช่วยให้เชื้อแบ่งตัวเพิ่มจำนวน 2.3 การทดสอบที่ต้องโทรศัพท์และติดต่อห้องปฏิบัติการล่วงหน้า 1 วันราชการ เพื่อเตรียมอุปกรณ์ มีดังนี้ 2.3.1 MIC, Automated MIC 2.3.2 การเพาะเชื้อพิเศษ เช่น Bordetella pertussis, Brucella, Corynebacterium diphtheriaeและ Campylobacter jejuni 2.4 การย้อม acid fast ในอุจจาระ จะรับตรวจเฉพาะผู้ป่วยที่มีผล anti-HIV positive เท่านั้น 2.5 การเพาะเชื้อ anaerobe 2.5.1 ควรระบุการวินิจฉัยในรายการส่งตรวจ ห้องปฏิบัติการจะใช้เป็นข้อมูลประกอบในการยืนยันผลการทดสอบ 2.5.2 หลังจากเก็บสิ่งส่งตรวจแล้วให้นำส่งทันที หากสงสัยเชื้อกลุ่ม strictly anaerobe ให้ติดต่อขอรับ thioglycollate broth หรือติดต่อห้องปฏิบัติการเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมการเก็บสิ่งส่งตรวจ 2.5.3 สิ่งส่งตรวจที่ไม่เหมาะสมในการส่งเพาะเชื้อ anaerobe คือ sputum, throat swab, urine, vaginal swab และ stool/rectal swab
|
3. วิธีการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
3.1 เลือด (Blood) เพื่อการเพาะเชื้อ ให้ปฏิบัติดังนี้ 3.1.1 ก่อนเจาะเลือด นำขวด hemoculture ออกจากตู้เย็น ให้อุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง 3.1.2 เลือกชนิดของขวด hemoculture ให้ถูกต้องกับสิ่งส่งตรวจที่ต้องการเก็บ ดังนี้ 3.1.2.1 เพาะเชื้อแบคทีเรีย aerobe แบ่งเป็น 2 ชนิด o สำหรับผู้ใหญ่ ขวด BD BactecTM Plus Aerobic medium ปริมาณเลือดที่เก็บขวดละ 8-10 mL o สำหรับเด็ก ขวด VersaTrekTM RedoxTM 1 ปริมาณเลือดที่เก็บขวดละ 5-10 mL เด็กแรกเกิด 0.5-10 mL ควรระบุในระบบหากเก็บตัวอย่างเลือดได้น้อยมาก 3.1.2.2 เพาะเชื้อ Mycobacteria และ Fungus ขวด BD BactecTM Myco/F-lytic ปริมาณเลือดที่เก็บขวดละ 1-5 mL ขอรับขวดนี้ได้ที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก ในวันที่ต้องการส่งตรวจ หมายเหตุ ข้างขวด hemoculture จะมีบาร์โค้ด ที่เป็น serial number สำหรับติดต่อกับการทำงานของเครื่อง ดังนั้นห้ามติดฉลากข้อมูลใด ๆ ของผู้ป่วยปิดทับบาร์โค้ดนี้ หรือทำให้ฉีกขาด 3.1.3 ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วย 2% chlorhexidine in 70% alcohol ปล่อยให้บริเวณที่เช็ดแห้งก่อนเจาะเลือด และไม่ควรเจาะเลือดจากสายที่ให้สารละลายเข้าหลอดเลือด 3.1.4 ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ ในการถ่ายเลือดจาก syringe ลงขวด hemoculture 3.1.5 ปิดฉลากชื่อ-สกุล HN อายุ หอผู้ป่วย ลำดับที่ของขวด (ถ้ามี)บาร์โค้ดที่ระบุข้อมูลผู้ป่วย และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นบนฉลากข้างขวด ห้ามปิดทับ บาร์โค้ดของขวด หรือทำให้บาร์โค้ดของขวดฉีกขาด 3.1.6 นำส่งทันที หากส่งช้าให้วางที่อุณหภูมิห้อง ไม่ควรเกิน 1 ชม. ห้ามเก็บในตู้เย็น 3.1.7 ขวด hemoculture เหมาะสมกับการเพาะเชื้อจากเลือดและไขกระดูก (bone marrow) เท่านั้น หมายเหตุ ข้างขวด hemoculture จะมีบาร์โค้ด ที่เป็น serial number สำหรับติดต่อ กับการทำงานของเครื่อง ดังนั้นห้ามติดฉลากข้อมูลใด ๆ ของผู้ป่วยปิดทับบาร์โค้ดนี้ หรือทำให้ฉีกขาด 3.1.3 ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วย 2% chlorhexidine in 70% alcohol ปล่อยให้บริเวณที่เช็ดแห้งก่อนเจาะเลือด และไม่ควรเจาะเลือดจากสายที่ให้สารละลายเข้าหลอดเลือด 3.1.4 ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ ในการถ่ายเลือดจาก syringe ลงขวด hemoculture 3.1.5 ปิดฉลากชื่อ-สกุล HN อายุ หอผู้ป่วย ลำดับที่ของขวด (ถ้ามี)บาร์โค้ดที่ระบุข้อมูลผู้ป่วย และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นบนฉลากข้างขวด ห้ามปิดทับ บาร์โค้ดของขวด หรือทำให้บาร์โค้ดของขวดฉีกขาด 3.1.6 นำส่งทันที หากส่งช้าให้วางที่อุณหภูมิห้อง ไม่ควรเกิน 1 ชม. ห้ามเก็บในตู้เย็น 3.1.7 ขวด hemoculture เหมาะสมกับการเพาะเชื้อจากเลือดและไขกระดูก (bone marrow) เท่านั้น 3.2 หนอง (pus) 3.2.1 กรณีเพาะเชื้อ ถ้ามีหนองจำนวนมาก ให้ใช้ไซรินจ์ปราศจากเชื้อ ดูดหนองฉีดลงในขวดปราศจากเชื้อ แต่ถ้ามีปริมาณน้อยไม่สามารถดูดได้ ให้ใช้ไม้พันสำลีป้ายหนองให้ได้ปริมาณมากที่สุด ใส่ใน Stuart’s transport media 3.2.2 นำส่งห้องปฏิบัติการทันที หากส่งช้าให้เก็บในตู้เย็นไม่ควรเกิน 2 ชม. ยกเว้น สิ่งส่งตรวจจากอวัยวะสืบพันธุ์เก็บที่อุณหภูมิห้องไม่เกิน 1 ชม. ห้ามเก็บในตู้เย็น 3.2.3 ให้ระบุตำแหน่งที่เก็บเพราะมีผลต่อการเลือกใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ เช่น จากอวัยวะสืบพันธุ์ จะใช้อาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษที่เพาะหาเชื้อ Neisseria gonorrhoeae เป็นต้น 3.2.4 กรณีส่งย้อมสี ให้ใส่ในขวดปราศจากเชื้อเช่นกัน แต่ถ้าหนองมีปริมาณน้อยให้ป้ายสไลด์ 3.3 Throat swab ใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อสัมผัสและหมุนช้า ๆ บริเวณผนังลำคอด้านหลัง ต่อมทอนซิลและบริเวณที่มีการอักเสบบวมแดงหรือเป็นหนอง อย่าให้ไม้พันสำลีสัมผัสบริเวณอื่น ๆ ภายในปาก ใส่ไม้พันสำลีลงใน Stuart’s transport media นำส่งห้องปฏิบัติการทันที Rub the swab across the tonsillar areas & the posterior pharynx, specifically targeting any inflamed areas. Be careful not to touch the tongue, uvula, or lips due to possible contamination 3.4 เสมหะ (sputum) 3.4.1 ควรเก็บเสมหะในตอนเช้าหลังตื่นนอนใหม่ๆ โดยให้ผู้ป่วยบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งก่อนเก็บ (ห้ามบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก) และส่งห้องปฏิบัติการทันที หากส่งช้าให้เก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส 3.4.2 ในกรณีส่งเสมหะเพื่อตรวจหาเชื้อวัณโรค ควรส่งวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน ควรเก็บเสมหะไม่ใช่น้ำลาย สำหรับเด็กเล็กสามารถพิจารณาส่ง gastric content มายังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อวัณ โรค 3.5 ปัสสาวะ (urine) 3.5.1 ก่อนเก็บปัสสาวะควรทำความสะอาดผิวหนังรอบอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายและเพศหญิงด้วยสบู่และน้ำสะอาด ซับด้วยกระดาษชำระ จากนั้นถ่ายปัสสาวะในช่วงแรกทิ้ง ให้เก็บปัสสาวะช่วงกลาง (midstream urine; MSU) ในขวดปราศจากเชื้อ แล้วถ่ายปัสสาวะส่วนที่เหลือทิ้งไป ถ้าผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ (catheter) ให้เช็ดสายสวนปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อน แล้วจึงใช้ไซรินจ์ดูดปัสสาวะใส่ขวดปราศจากเชื้อ และระบุในการส่งตรวจให้ชัดเจน ว่าเป็น midstream urine หรือ catheterized urine 3.5.2 นำส่งห้องปฏิบัติการทันที ถ้าส่งไม่ทันภายใน 30 นาที ให้เก็บในตู้เย็น 4 องศาเซลเซียส และห้ามวางที่อุณหภูมิห้องเกิน 2 ชม. 3.6 อุจจาระ (stool หรือ rectal swab) 3.6.1 อุจจาระที่ส่งการทดสอบ culture aerobe ให้เก็บตัวอย่างอุจจาระเหลวประมาณ 5 mL หรือ ½ ช้อนชาในขวดปราศจากเชื้อ หรือ 2 กรัม สำหรับอุจจาระแข็ง นำส่งห้องปฏิบัติการทันที หรือเก็บตัวอย่างอุจจาระด้วยไม้พันสำลี (swab) และใส่ใน Stuart’s transport media 1 อัน กรณีที่แพทย์สงสัยว่าคนไข้ติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Vibrio ให้ส่ง swab จำนวน 2 อัน และนำส่งห้องปฏิบัติการทันที 3.6.2 การเพาะเชื้อ C. jejuni, การตรวจหา Clostridium difficile toxin A/B จะต้องเป็นตัวอย่างอุจจาระเหลวในขวดปราศจากเชื้อ ไม่ใช่ rectal swab นำส่งห้องปฏิบัติการทันที หากส่งช้าให้เก็บที่อุณหภูมิห้องไม่เกิน 2 ชม. 3.7 ชิ้นเนื้อ (tissue) โดยการตัดชิ้นเนื้อ (tissue biopsy) ใส่ขวดปราศจากเชื้อเพื่อส่งเพาะเชื้อ อาจใส่ชิ้นเนื้อไว้ในน้ำเกลือปราศจากเชื้อเพื่อป้องกันไม่ให้แห้ง แต่ไม่ควรใช้สาร fixative เช่น formalin เพราะทำให้เชื้อแบคทีเรียตายได้ 3.8 สารน้ำจากร่างกาย (body fluids) เช่น น้ำไขสันหลัง (CSF) น้ำในช่องท้อง น้ำในข้อต่าง ๆ น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ควรเก็บตัวอย่างในขวดปราศจากเชื้อ หรือขวด VersaTrekTM RedoxTM 1 ปริมาตรที่เหมาะสม 5-10 mL รองรับปริมาตรน้อยที่สุด 0.5 mL และนำส่งห้องปฏิบัติการทันที โดยเฉพาะน้ำไขสันหลัง ไม่ควรแช่เย็น 3.9 สิ่งส่งตรวจที่ส่งเพาะเชื้อ anaerobe เก็บได้ 3 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 ใส่สิ่งส่งตรวจลงในขวดปราศจากเชื้อ (ขนาด 20 mL) ไม่ให้มีอากาศเหลืออยู่และปิดปาก ขวดให้แน่น วิธีที่ 2 ใช้เข็มเจาะดูดสิ่งส่งตรวจอย่างน้อย 1 mL ไล่อากาศในไซรินจ์ ออกให้หมด และปิดปลาย ไซรินจ์เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสออกซิเจน วิธีที่ 3 ใส่สิ่งส่งตรวจลงในหลอด thioglycollate broth ปิดฝาให้แน่น ห้ามเขย่าหรือเอียงหลอด กรณีสิ่งส่งตรวจเป็นชิ้นเนื้อ ให้ใช้กรรไกรที่ปราศจากเชื้อตัดใส่ในหลอด thioglycollate broth 3.9.1 นำส่งโดยเร็วที่สุด ถ้าส่งไม่ได้ทันทีให้เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ห้ามเก็บในตู้เย็น เนื่องจากอากาศจะซึมเข้าไปในสิ่งส่งตรวจได้มากกว่าที่อุณหภูมิห้อง 3.10 สิ่งส่งตรวจที่ส่งเพาะเชื้อรา (fungus) และตรวจหาเชื้อราโดยวิธี KOH preparation และ India ink 3.10.1 การเพาะเชื้อรา 3.10.1.1 สิ่งส่งตรวจจากผิวหนัง ผม และเล็บ ให้เช็ดบริเวณที่จะเก็บด้วย 70% alcohol ใช้ใบมีดปราศจากเชื้อ ขูดผิวหนังที่ขอบแผล ถ้าเป็นผมให้ใช้คีมถอน ส่วนเล็บใช้ใบมีดขูดเนื้อเยื่อใต้ขอบเล็บหรือใช้ที่ตัดเล็บ ใส่ขวดปราศจากเชื้อ 3.10.1.2 Corneal scraping ให้ใส่สิ่งส่งตรวจลงในอาหารเลี้ยงเชื้อราโดยตรง ได้แก่ Sabouraud dextrose agar (SDA) และ SDA + chloramphenicol ซึ่งขอรับได้ที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิกตลอด 24ชม. และนำส่งห้องปฏิบัติการทันที หากส่งช้าให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง ส่วนอาหารเลี้ยงเชื้อที่ไม่ได้ใช้ ให้ส่งคืนห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก 3.10.1.3 สิ่งส่งตรวจอื่น ๆ เช่น หนอง, น้ำไขสันหลัง (CSF), ปัสสาวะ, เสมหะ ให้ใส่สิ่งส่งตรวจในขวดปราศจากเชื้อและนำส่งห้องปฏิบัติการทันที 3.10.2 ตรวจหาเชื้อราโดยวิธี KOH preparation และ India ink เก็บสิ่งส่งตรวจใส่ขวดปราศจากเชื้อโดยตรงไม่ต้องใส่ใน transport media นำส่งห้องปฏิบัติการทันที
|
4.สถานที่รับสิ่งส่งตรวจ
ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก ทุกวัน ตลอด 24 ชม.
|
5.การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
5.1 ข้อปฏิบัติทั่วไปในการรับและปฏิเสธสิ่งส่งตรวจของสาขาวิชาพยาธิวิทยา หน้า 10 5.2 เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจของหน่วยจุลชีววิทยาคลินิก 5.2.1 การทดสอบที่ไม่เปิดให้บริการวันราชการ เวลา 16:30-08:30 หรือวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เช่น การเพาะเชื้อ C. jejuni, C. diphtheriae, B. pertussis และการทดสอบ Clostridium difficile toxin A/B 5.2.2 สิ่งส่งตรวจที่เป็น swab ส่งมาย้อมสีทุกชนิด ยกเว้น rectal swab ที่ส่งย้อม acid fast ในผู้ป่วยที่มี anti-HIV positive 5.2.3 ปัสสาวะ ส่งย้อม Gram stain 5.2.4 เสมหะจากหอผู้ป่วย ส่งย้อม Gram stain 5.2.5 เสมหะที่ส่ง culture aerobe เมื่อย้อม Gram stain พบ PMN: epithelial cells < 10:1 หรือ epithelial cells > 10 cells/LPF ทางห้องปฏิบัติการจะไม่ทำการเพาะเชื้อและรายงานว่า “specimen ไม่เหมาะสมในการเพาะเชื้อ กรุณาส่งใหม่” 5.2.6 ปัสสาวะที่ใช้เวลาในการเก็บและนำส่งถึงห้องปฏิบัติการเกิน 2 ชม.
|
6.การขอทดสอบเพิ่ม
ดำเนินตามข้อปฏิบัติทั่วไปในการส่งสิ่งส่งตรวจ หัวข้อ “การขอทดสอบเพิ่ม”หน้า 7 โดยมีเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้ 6.1 การทดสอบ MIC และ Automated MIC กรุณาโทรศัพท์แจ้งขอตรวจเพิ่มในเวลาราชการหลังจากที่ได้รับรายงานผลการเพาะเชื้อแบคทีเรีย ภายใน 3-5 วัน เพราะเชื้อที่ต้องการทดสอบอาจจะไม่ได้เก็บหรือเชื้อตาย
|
7.การรายงานผลค่าวิกฤต
กรณีที่ผลการตรวจมีค่าอยู่ในเกณฑ์ค่าวิกฤต ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก จะรายงานผลทางระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย
การทดสอบ | ระดับการรายงานค่าวิกฤต |
---|---|
Gram stain in hemoculture and CSF | ผลย้อม gram stain |
Acid fast stain | ผลย้อม Acid fast stain ในเสมหะผู้ป่วยรายใหม่ที่รายงานผลบวก |