
รายละเอียดการทดสอบ หน่วยเคมีคลินิก
– รายละเอียดการทดสอบ –
|
1. วิธีเตรียมผู้ป่วยก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ
1.1 การส่งตรวจ blood glucose ให้ผู้ป่วยงดอาหารข้ามคืนอย่างน้อย 8 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้) 1.2 การทดสอบ oral glucose tolerance test (OGTT) ในผู้ใหญ่ ยกเว้นหญิงมีครรภ์ ให้เตรียมผู้ป่วย ดังนี้ - ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมประจำวันและกินอาหารตามปกติ ซึ่งมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 150 กรัมต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน ก่อนการทดสอบ - งดสูบบุหรี่ ระหว่างการทดสอบและบันทึกโรคหรือภาวะที่อาจมีอิทธิพลต่อผลการทดสอบ เช่น ยา ภาวะติดเชื้อ เป็นต้น - ให้ผู้ป่วยงดอาหารข้ามคืน อย่างน้อย 8 ชม. ในระหว่างนี้สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ - เจาะเลือดก่อนดื่มน้ำตาลเพื่อเป็น fasting blood glucose หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม ละลายน้ำประมาณ 250 – 300 mL และดื่มให้หมดภายใน 5 นาที เจาะเลือดเพื่อตรวจ glucose หลังจากดื่มน้ำตาล 1 และ 2 ชม. (อาจเจาะเลือดเพิ่มทุก 30 นาที ในกรณีที่ต้องการ) - การทดสอบ OGTT ในเด็ก มีวิธีการเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่ปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่ใช้ทดสอบ คือ 1.75 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม รวมแล้วไม่เกิน 75 กรัม 1.3 การทดสอบ oral glucose tolerance test (OGTT) ในหญิงมีครรภ์ ให้เตรียมผู้ป่วย ดังนี้ - ให้ผู้ป่วยงดอาหารข้ามคืนอย่างน้อย 8 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้) - เจาะเลือดก่อนดื่มน้ำตาลเพื่อเป็น fasting blood glucose หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม หรือ 100 กรัม ละลายน้ำประมาณ 250 - 300 mL และดื่มให้หมดภายใน 5 นาที หากดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดที่ 2 ชม. หลังจากดื่มน้ำตาลกลูโคส หรือเจาะเลือดที่ 1, 2 และ 3 ชม.หากดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม 1.4 การทดสอบ 50g glucose challenge test (50 g GCT) ในหญิงมีครรภ์เท่านั้น ผู้ป่วยไม่ต้องงดอาหารก่อนการทดสอบ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัมและเจาะเลือดหลังจากดื่มน้ำตาล 1 ชม. 1.5 การส่งตรวจระดับไขมันในเลือด (lipid profile) ได้แก่ การทดสอบ cholesterol, triglyceride, HDL-c, LDL-c, VLDL และการทดสอบกลุ่ม Vitamin ได้แก่ Vitamin A, Vitamin B1, Vitamin B12, Vitamin E, folate ผู้ป่วยต้องงดอาหารข้ามคืนอย่างน้อย 12 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้) 1.6 การทดสอบ Metanephrine ก่อนเจาะเลือด ให้ผู้ป่วย - งดอาหารและเครื่องดื่มต่อไปนี้ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ อาหารจำพวกช็อคโกแลต วนิลา และผลไม้ ในตระกูลกล้วย (banana and plantains) และผลไม้ที่ในตระกูลส้ม เป็นเวลา 12 ชม. ก่อนมารับการเจาะเลือด - งดรับประทานยาในกลุ่มดังต่อไปนี้ ยาที่มีสาร L-DOPA เช่น ยาคลายเครียด ยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ได้แก่ Sinemet (levodopa/carbidopa) Symmetrel ยาในกลุ่ม dopamine agonists ได้แก่ Requip และ Mirapex และยาในกลุ่ม bromocriptine, bronchodilators, clonidine, digoxin, labelelol, methyldopa, monoamine, oxidase inhibitors, nitroglycerine, reserprine, sympathomimetric amines, tricyclic antidepressents เป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชม. ก่อนมารับการเจาะเลือด โดยควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อนทำการหยุดยา และไม่ควรหยุดยาเองโดยไม่แจ้งให้แพทย์ทราบ - ให้ผู้รับบริการนอนพักผ่อนอย่างสงบเป็นเวลา 30 นาที ก่อนทำการเจาะเลือดในท่านอน เพราะการเจาะเก็บตัวอย่างในท่านั่ง อาจส่งผลให้ค่าที่ตรวจวิเคราะห์เกิดผล false positive ได้ 1.7 การทดสอบ Quad test ให้เจาะเลือดโดยอายุครรภ์อยู่ในช่วง 14-18 สัปดาห์ 1.8 การเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจ VMA, 5-HIAA และ Metanephrine ให้ผู้ป่วย ต้องงดอาหารดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 3 วันก่อนเก็บและระหว่างการเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชม. - VMA: งดรับประทานอาหารที่มีวานิลลา ช็อกโกแลต น้ำชา กาแฟ กล้วย ผลไม้จำพวกส้ม เช่น ส้มโอ มะนาว - 5-HIAA: งดผลไม้ เช่น กล้วย มะเขือเทศ สัปปะรด อะโวคาโด วอลนัท และลูกพลัม - Metanephrine งดรับประทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และอาหารจำพวกช็อคโกแลต วนิลา ผลไม้ ในตระกูลกล้วย (banana and plantains) และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่นส้ม และยาที่มีสาร L-DOPA เช่น ยาคลายเครียด ยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ได้แก่ Sinemet (levodopa/carbidopa) Symmetrel ยาในกลุ่ม dopamine agonists ได้แก่ Requip และ Mirapex และยาในกลุ่ม bromocriptine, bronchodilators, clonidine, digoxin, labelelol, methyldopa, monoamine, oxidase inhibitors, nitroglycerine, reserprine, sympathomimetric amines, tricyclic antidepressents โดยควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อนทำการหยุดยา และไม่ควรหยุดยาเองโดยไม่แจ้งให้แพทย์ทราบ
|
2. ข้อกำหนดในการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
2.1 การส่งตรวจทางเคมีคลินิกบางรายการต้องเตรียมผู้ป่วยให้ถูกต้องโดยเคร่งครัดดังรายละเอียดในข้อ 1 2.2 ปริมาณและชนิดของเลือดที่ใช้ในการทดสอบ - Blood glucose, L-Lactic acid ใช้ NaF blood ปริมาตร 1 - 2 mL - การทดสอบ 1-5 รายการ ใช้ lithium heparin blood หรือ clotted blood ปริมาตร 2 mL ยกเว้นมีการทดสอบดังต่อไปนี้ ได้แก่ Osmolality, PCT, Aldolase, Interlukin-6 ใช้เลือดปริมาตร 4 mL - การทดสอบ 5-15 รายการ ใช้ lithium heparin blood หรือ clotted blood จำนวน 4 mL - การทดสอบ Vitamin A, E, 25-OH Vitamin D2/D3, Quad test และ Protein electrophoresis ใช้เลือดชนิด clotted blood เท่านั้น ปริมาตรอย่างน้อย 6 mL - การทดสอบ Vitamin B1, HbA1c และ Ammonia ใช้ EDTA blood ปริมาตร 2 - 3 mL และการทดสอบ Metanephrine ใช้ EDTA blood ปริมาตร 6 mL 2.3 การทดสอบ Ammonia และ Lactate ให้แช่สิ่งส่งตรวจในน้ำแข็งระหว่างนำส่ง และส่งตรวจทันที โดยขอให้โทรศัพท์แจ้งห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกล่วงหน้าก่อนส่งตรวจประมาณ 30 นาที
|
3. วิธีการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ
3.1 การเจาะเก็บเลือด 3.1.1 เช็ดผิวหนังบริเวณที่จะเจาะเลือดด้วย 2% chlorhexidine in 70% alcohol เนื่องจากการใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออื่นจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีที่มีอยู่ในน้ำยาฆ่าเชื้อนั้นได้ เช่น การใช้โปตัสเซียมไอโอไดน์ทำความสะอาดทำให้ค่าของซีรัมโปตัสเซียมและคลอไรด์ผิดจากความจริง 3.1.2 หลีกเลี่ยงการเกิด venous stasis จากการรัดแขนขณะเจาะเลือดนานเกิน 1 นาที ซึ่งทำให้สารเคมีบางตัวสูงกว่าความเป็นจริง เช่น protein, calcium, lactate 3.1.3 หลีกเลี่ยงการเจาะเลือดจากแขนที่รับน้ำเกลือหรือสารน้ำต่าง ๆ เพราะอาจมีส่วนประกอบของ glucose และ electrolyte ทำให้ผลการตรวจมีค่าสูงกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการปนเปื้อนของน้ำเกลือ ซึ่งผู้ป่วยกำลังได้รับ นอกจากนั้นยังไปเจือจางเลือดทำให้ตรวจสารอื่นได้ค่าต่ำกว่าความเป็นจริง 3.1.4 หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เพราะจะมีผลกระทบต่อค่าของสารเคมีบางชนิด เช่น potassium, LDH, AST (SGOT), inorganic phosphate, folate, D-bilirubin 3.2 การเก็บปัสสาวะ 3.2.1 การเก็บปัสสาวะ แบบสุ่ม (random urine) ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเป็น 3 ช่วง ปัสสาวะที่ถ่ายช่วงแรกและช่วงหลังให้ทิ้งไป เก็บเฉพาะปัสสาวะที่ถ่ายช่วงกลาง (midstream urine) ประมาณ 10 - 50 mL ใส่ภาชนะสำหรับใส่ปัสสาวะปิดฝาให้สนิท 3.2.2 การเก็บปัสสาวะ 24 ชม. (24 hr urine) เริ่มเก็บปัสสาวะโดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ บันทึกเวลาไว้ หลังจากนั้นจึงเก็บปัสสาวะที่ถ่ายครั้งต่อ ๆ ไป ในขวดเก็บปัสสาวะที่ใส่สารรักษาสภาพ หรือ preservative สำหรับรักษาสภาพสิ่งส่งตรวจไม่ให้เสื่อมสภาพ (การทดสอบแต่ละชนิดอาจใส่สารรักษาสภาพแตกต่างกัน) เก็บปัสสาวะทุกครั้งจนครบ 24 ชม. ปิดฝาให้สนิท โดยให้ปัสสาวะครั้งสุดท้ายคือเวลาเดียวกันกับเวลาที่เริ่มถ่ายทิ้งครั้งแรก เมื่อเก็บครบเวลาแล้วให้รีบนำส่งห้องปฏิบัติการ ติดต่อขอรับขวดเก็บปัสสาวะได้ที่หน่วยรับสิ่งส่งตรวจ สาขาวิชาพยาธิวิทยา 3.2.3 สำหรับสถานพยาบาลภายนอก การส่งตรวจที่ใช้ปัสสาวะ 24 ชม. ให้ใช้สารรักษาสภาพตามที่ระบุในตารางด้านล่าง
การทดสอบ | สารรักษาสภาพ (preservative) | |
5 mL Toluene | 10 mL 6N HCL |
Urea Nitrogen/Creatinine | ✓ | ✓ |
Uric acid | ✓ | ห้ามใช้ |
Citrate | ✓ | ✓ |
Total protein | ✓ | ห้ามใช้ |
Calcium / Phosphorus | ✓ | ✓ |
VMA/ Metanephrine | ห้ามใช้ | ✓ |
Glucose | ✓ | ✓ |
5-HIAA | 10 mL 6N HCL หรือ 25 mL glacial acetic acid | |
Electrolytes/Osmolality/Amylase | ไม่ใช้ preservative |
3.2.4 สิ่งส่งตรวจอื่น ๆ ได้แก่ pleural fluid, peritoneal fluid, CSF และน้ำล้างไต แพทย์เป็นผู้จัดเก็บใส่ภาชนะที่ได้ระบุไว้ 3.3 การส่งสิ่งส่งตรวจ 3.3.1 การทดสอบทางเคมีคลินิกโดยทั่วไป ควรส่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการให้เร็วที่สุด ไม่ต้องแช่ในน้ำแข็ง (ยกเว้นบางการทดสอบ) เพื่อห้องปฏิบัติการจะทำการปั่นแยกซีรัม พลาสม่าออกจากเม็ดเลือดแดง ภายในเวลา 2 ชม. เพราะถ้าปล่อยให้ลิ่มเลือดแช่อยู่ในซีรัมนานเกินไป สารเคมีที่มีมากในเม็ดเลือดแดงจะออกมาในซีรัม ทำให้ระดับสารเคมีดังกล่าวสูงเกินความเป็นจริง
|
4.สถานที่รับสิ่งส่งตรวจ
จุดจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอกและจุดรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยใน
|
5.การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
ข้อปฏิบัติทั่วไปในการรับและปฏิเสธสิ่งส่งตรวจของสาขาวิชาพยาธิวิทยา หน้า 10
|
6.การขอทดสอบเพิ่ม
ดำเนินตามข้อปฏิบัติทั่วไปในการส่งสิ่งส่งตรวจหัวข้อ“การขอทดสอบเพิ่ม” หน้า 7
|
7.การรายงานผลค่าวิกฤต
ารทดสอบ | ช่วงวัย | ระดับค่าวิกฤติที่รายงาน | |
น้อยกว่า | มากกว่า | ||
1. Glucose | Adult | 60 mg/dL | 500 mg/dL |
Pediatric | 50 mg/dL | 500 mg/dL | |
2. Calcium | Adult | 5 mg/dL | 15.0 mg/dL |
Pediatric | 6 mg/dL | 15.0 mg/dL | |
3. Sodium (Na+) | Adult | 120 mmol/L | 160 mmol/L |
Pediatric | 120 mmol/L | 160 mmol/L | |
4. Potassium (K+) | Adult | 2.5 mmol/L | 6.0 mmol/L |
Pediatric | 2.5 mmol/L | 6.0 mmol/L | |
5. Chloride (Cl-) | Adult | 70 mmol/L | 130 mmol/L |
Pediatric | 80 mmol/L | 130 mmol/L | |
6. Total Carbon dioxide (T-CO2) | Adult | 10 mmol/L | 45 mmol/L |
Pediatric | 10 mmol/L | 40 mmol/L |
หมายเหตุ: Adult คือ ช่วงอายุ > 15 ปี ขึ้นไป Pediatric คือ กลุ่มเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 15 ปี ค่าวิกฤต หมายถึง ผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ที่จำเป็นจะต้องแจ้งโดยด่วน
|
7.การรายงานผลค่าวิกฤต
|
การจัดเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยของคลินิกต่าง ๆ ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ |
การรับสิ่งส่งตรวจ จากคลินิกต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ |
ในเวลาราชการ |
06:30-16:30 น. |
06:30-16:30 น. |
นอกเวลาราชการ |
16:30-20:30 น. |
16:30-20:30 น. |
วันหยุดราชการและ วันหยุดนักขัตฤกษ์ |
07:00-16:00 น. (บริการเจาะเลือด 07:00-12:00 น.) |
07:00-16:30 น. |
|
การจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอก(ล่วงหน้า) ชั้น 1 อาคารสูติ-กุมารเวช
|
การรับสิ่งส่งตรวจ จากคลินิกต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ |
ในเวลาราชการ |
06:30-12:00 น. |
06:30-12:00 น. |
วันหยุดราชการและ วันหยุดนักขัตฤกษ์ |
ไม่เปิดบริการ |
ไม่เปิดบริการ |
หมายเหตุ: Adult คือ ช่วงอายุ > 15 ปี ขึ้นไป
Pediatric คือ กลุ่มเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 15 ปี
ค่าวิกฤต หมายถึง ผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ที่จำเป็นจะต้องแจ้งโดยด่วน