
ข้อปฏิบัติทั่วไป การจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยนอก
หน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยรับสิ่งส่งตรวจ
จุดปฏิบัติการ
- จุดจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอก (ตรงวัน)
ที่ตั้ง ชั้น 1 อาคารพยาธิวิทยา
หมายเลขโทรศัพท์ 074-451560 โทรศัพท์ภายใน 1560
- จุดจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอก (ล่วงหน้า)
ที่ตั้ง ชั้น 1 อาคารสูติ-กุมารเวช
โทรศัพท์ภายใน 156441
วันและเวลาทำการ ตามช่วงเวลา ดังตาราง
การจัดเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยของคลินิกต่าง ๆ ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ | การรับสิ่งส่งตรวจ จากคลินิกต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ | |
ในเวลาราชการ | 06:30-16:30 น. | 06:30-16:30 น. |
นอกเวลาราชการ | 16:30-20:30 น. | 16:30-20:30 น. |
วันหยุดราชการและ วันหยุดนักขัตฤกษ์ | 07:00-16:00 น. (บริการเจาะเลือด 07:00-12:00 น.) | 07:00-16:30 น. |
การจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอก(ล่วงหน้า) ชั้น 1 อาคารสูติ-กุมารเวช | การรับสิ่งส่งตรวจ จากคลินิกต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ | |
ในเวลาราชการ | 06:30-12:00 น. | 06:30-12:00 น. |
วันหยุดราชการและ วันหยุดนักขัตฤกษ์ | ไม่เปิดบริการ | ไม่เปิดบริการ |
- วิธีเตรียมผู้ป่วยก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ
- คำแนะนำที่พยาบาลประจำคลินิกต่าง ๆ ควรอธิบายต่อผู้รับบริการ
- ให้ผู้รับบริการหรือญาติติดต่อชำระเงินค่าตรวจที่แผนกการเงินผู้ป่วยนอกหลังจากที่แพทย์เจ้าของไข้สั่งตรวจผ่านระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายแล้ว
- นำใบเสร็จรับเงิน บัตรโรงพยาบาลหรือบัตรนัดมาติดต่อรับบริการเก็บสิ่งส่งตรวจ ที่จุดจัดเก็บสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอกยกเว้นผู้ป่วยที่มีสิทธิ์จ่ายตรง ประกันสังคมและบัตรทอง ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ให้ติดต่อที่จุดจัดเก็บสิ่งส่งตรวจโดยตรง
- เตรียมบัตรประชาชน ใบขับขี่หรือบัตรที่ออกโดยส่วนราชการที่มีรูปถ่ายเพื่อใช้แสดงตนก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ
- เมื่อเก็บสิ่งส่งตรวจเสร็จแล้วให้ผู้รับบริการกลับไปรอผลตรวจที่คลินิก หรือกลับบ้านแล้วมารับทราบรายงานผลที่คลินิกตามกำหนดที่แพทย์นัด
- คำแนะนำขั้นตอนการรับบริการที่จุดจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอก
- ผู้รับบริการยื่นบัตรโรงพยาบาลให้เจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของการขอส่งตรวจและการแสดงตนของผู้รับบริการ โดยต้องใช้ตัวชี้บ่งอย่างน้อย 3 ตัวชี้บ่ง
- ชื่อ-สกุลเต็ม
- เลขที่ผู้ป่วย
- ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
- บัตรแสดงตนของผู้ป่วยที่มีรูปถ่าย
- วัน เดือน ปี เกิด
- ภาพถ่ายบนระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย
- ป้ายระบุ ชื่อ นามสกุล ที่ตัวผู้ป่วย ก่อนลงทะเบียนด้วยระบบบาร์โค้ด และแนะนำผู้ขอรับบริการ
- กรณีเจาะเลือด ผู้รับบริการจะได้รับบัตรคิวเพื่อไปรอเจาะเลือดที่ห้องเจาะเลือด
- กรณีไม่มีการเจาะเลือด แต่มีการเก็บสิ่งส่งตรวจชนิดอื่น ผู้รับบริการจะได้รับภาชนะสำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจนั้น ๆ พร้อมคำแนะนำ ดังนี้
- การเก็บปัสสาวะ ให้ถ่ายปัสสาวะช่วงต้นทิ้งไป เก็บเฉพาะปัสสาวะส่วนกลาง (midstream urine) ใส่ภาชนะที่รับไปจากเจ้าหน้าที่ ให้ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของภาชนะ คือ ประมาณ 30-40 mL ปิดฝาภาชนะให้สนิทเพื่อป้องกันการรั่ว/หก แล้วนำกลับมาส่งที่จุดลงทะเบียน
- การเก็บอุจจาระ ให้เก็บอุจจาระขนาดเมล็ดถั่วลิสง โดยเลือกเก็บส่วนที่อาจพบความผิดปกติ เช่น บริเวณที่มีมูกเลือดใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ปิดฝาให้สนิท แล้วนำกลับมาส่งที่จุดลงทะเบียนเฉพาะในวันและเวลาราชการ ไม่รับตรวจนอกเวลาราชการ ถ้าผู้รับบริการไม่สามารถเก็บได้ในขณะนั้น ให้นำภาชนะกลับไปเก็บที่บ้าน และนำส่งในวันรุ่งขึ้นของวันราชการ
- การเก็บเสมหะ ให้บ้วนน้ำลายทิ้งก่อน แล้วจึงไอเอาเสมหะออกมา ใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ ระวังอย่าให้มีน้ำลายปน ปิดฝาให้สนิท โดยผู้ป่วยจะต้องไปเก็บเสมหะและส่งที่ศูนย์คัดกรอง โรคระบบทางเดินหายใจ
- การเก็บน้ำอสุจิ งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันที่จะเก็บน้ำอสุจิ การเก็บน้ำอสุจิผู้ป่วยควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง เก็บโดยวิธีสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เก็บน้ำอสุจิให้หมดใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
- ผู้รับบริการยื่นบัตรโรงพยาบาลให้เจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของการขอส่งตรวจและการแสดงตนของผู้รับบริการ โดยต้องใช้ตัวชี้บ่งอย่างน้อย 3 ตัวชี้บ่ง
- การเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ เจ้าหน้าที่จะกดหมายเลขคิว ผู้รับบริการเข้าห้องเจาะเลือดตามลำดับคิวก่อน-หลัง และดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- รับใบ บาร์โค้ด และใบคิวจากผู้ป่วย
- ถามชื่อ-สกุล ผู้ป่วย เพื่อตรวจสอบให้ตรงกับ บาร์โค้ด เป็นการทวนซ้ำ
- scan บาร์โค้ด เพื่อบันทึกข้อมูลและติด บาร์โค้ด บนหลอดเลือดตามชนิดของสิ่งส่งตรวจที่ต้องการตรวจ โดยติดเป็นแนวยาว กรณีที่มีการสั่งตรวจ 2 ครั้งและใช้สิ่งส่งตรวจชนิดเดียวกันทำให้มี บาร์โค้ด 2 ใบ ที่ต้องติดบนหลอดเดียวกัน ให้ติดเป็นแนวยาวที่ด้านเดียวกันของหลอดเลือด
- แจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบว่ากำลังจะเจาะเลือด อาจมีอาการเจ็บปวดบ้าง
- รัดสายยางเหนือข้อพับของแขนด้านใดด้านหนึ่ง แต่ไม่นานเกิน 1 นาที เนื่องจากอาจทำให้ค่าการตรวจบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป
- เช็ดผิวหนังบริเวณที่จะเจาะเลือดด้วย 70% alcohol ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 30 วินาที
- เจาะเลือดแล้วแยกใส่ภาชนะที่ติด บาร์โค้ด ตามข้อ 1.3.3
- ปิดรอยแผลเจาะเลือดด้วยสำลีแห้งและพลาสเตอร์พร้อมแนะนำกดสำลี 5-10 นาที
- ตรวจสอบความเรียบร้อยและความถูกต้องของสิ่งส่งตรวจก่อนนำส่งห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
- คำแนะนำที่พยาบาลประจำคลินิกต่าง ๆ ควรอธิบายต่อผู้รับบริการ
- ข้อกำหนดในการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ ตามข้อกำหนดของแต่ละห้องปฏิบัติการที่กำหนดไว้ในคู่มือฉบับนี้
- วิธีการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจตามข้อกำหนดของแต่ละห้องปฏิบัติการ
- สถานที่รับสิ่งส่งตรวจ จุดจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอก ชั้น 1 อาคารพยาธิวิทยา
- การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
- ตามเกณฑ์การรับและปฏิเสธสิ่งส่งตรวจของสาขาวิชาพยาธิวิทยา
- ตามเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจของแต่ละห้องปฏิบัติการ
- ตามเกณฑ์ปฏิเสธสิ่งส่งตรวจของจุดจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอก
- ผู้ป่วยที่ไม่มีรายการส่งตรวจทางคอมพิวเตอร์เครือข่าย
- ผู้ป่วยยังไม่ผ่านฝ่ายการเงินของโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยต้องนำใบเสร็จรับเงินมายืนยัน
- สำหรับสิ่งส่งตรวจที่มาจากหน่วยงานภายนอก เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจมี ดังนี้
- ไม่มีใบนำส่ง ไม่มีชื่อผู้ป่วยหรือชื่อกับใบส่งตรวจไม่ตรงกัน
- สิ่งส่งตรวจเก็บในภาชนะที่ไม่ถูกต้อง ใช้สารกันเลือดแข็งไม่ถูกต้องตามข้อกำหนด
- สิ่งส่งตรวจน้อย ไม่เพียงพอ
- สิ่งส่งตรวจอยู่ในสภาพ หกเลอะภาชนะที่เก็บ บูดเน่า ฯลฯ
- การขอทดสอบเพิ่ม ดำเนินตามข้อปฏิบัติทั่วไปในการส่งสิ่งส่งตรวจหัวข้อ “การขอทดสอบเพิ่ม”
- การรายงานผล
- ห้องปฏิบัติการเป็นผู้รายงานผล
- ในกรณีที่แพทย์ส่งตรวจ CBC และขอสไลด์สเมียร์เลือดด้วย หน่วยโลหิตวิทยาจะส่งรายงานผลในระบบ ส่วนสไลด์จะส่งมาที่จุดจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอก ซึ่งเจ้าหน้าที่จะนำสไลด์ส่งให้คลินิกอายุกรรมและคลินิกเด็กตามวันเวลา ดังนี้
- วันจันทร์,วันอังคาร,วันพุธ,วันพฤหัสบดี, วันศุกร์ เวลา 10:45 น. และ 15:30 น.
- สำหรับผลการตรวจของหน่วยงานภายนอก จะจัดแยกผลการตรวจตามรายชื่อของหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อรอให้หน่วยงานมารับผลเอง ถ้าผลการตรวจเป็นของหน่วยงานที่ไม่สามารถมารับผลเองได้ ทางหน่วยฯ จะรวบรวมส่งทาง e mail และพร้อมจัดส่งการรายงานผลตัวจริงให้หน่วยธุรการ สาขาวิชาพยาธิวิทยา จัดส่งทางไปรษณีย์ต่อไป