
ข้อปฏิบัติทั่วไป การรายงานผลการทดสอบ
- ผลการทดสอบจะถูกตรวจสอบก่อนการรายงานผล โดยผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่ห้องปฏิบัติการกำหนด และมอบหมายอำนาจหน้าที่
- การรายงานผล เป็นการรายงานทางเอกสาร หรือผ่านระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย ไม่รายงานผลทางโทรศัพท์ ยกเว้น ผลการทดสอบที่อยู่ในช่วงวิกฤต รวมทั้งการรายงานผล frozen section
- ค่าของผลการทดสอบจะรายงานเป็นหน่วยสากลหรือหน่วยที่เป็นที่ยอมรับ
- มีการแปลผลในบางการทดสอบ รวมถึงการมีข้อเสนอแนะ หรือหมายเหตุอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น สิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสมซึ่งอาจมีผลต่อการทดสอบ
- รายงานผลถือเป็นความลับของผู้ป่วย จะเปิดเผยให้ผู้อื่นรับทราบไม่ได้นอกจากเจ้าตัว หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์
- มีระบบประกันคุณภาพการรายงานผล เช่น การสุ่มตรวจการรายงานผลหรือตรวจสอบการรายงานผลทั้งหมด มีการทบทวนผลการสุ่มตรวจการรายงานผล หรือการตรวจสอบหลังการรายงานผลไปแล้ว การประกันรอบเวลาการรายงานผล (TAT) เป็นต้น
วิธีการรายงานผล
- หน่วยงานภายในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
1.1 รายงานผลทางระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายของโรงพยาบาล ตามวันและเวลาที่กำหนดของแต่ละการ
ทดสอบ (TAT) ผู้ส่งตรวจสามารถดูผลและพิมพ์ผลได้ตามข้อกำหนดของโรงพยาบาล
1.2 ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายของโรงพยาบาลมีปัญหา เกิดขัดข้องและต้องการผลด่วน ผู้ส่ง
สามารถโทรศัพท์ตามผลได้ที่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งห้องปฏิบัติการจะรายงานผลเป็นส าเนารายงานผลให้
เป็นรายๆ ไปโดยจะบันทึกชื่อผู้รับผล ชื่อผู้รายงานผล วัน เวลา และผลที่แจ้ง ให้สามารถทวนสอบได้ - หน่วยงานภายนอกโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
2.1 รายงานผลโดยใบรายงานผลที่เป็นกระดาษหรือผลที่พิมพ์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่งทางไปรษณีย์
หรือหน่วยงานที่รับบริการมารับเอง
2.2 รายงานผลทางโทรสารหรือ E-Mail ในกรณีที่มีความเร่งด่วนและจะจัดส่งต้นฉบับให้ตามวิธีในข้อ 2.1 ต่อไป
หมายเหตุ การส่งรายงานผลทางโทรสาร หน่วยงานที่รับบริการจะมอบรายชื่อ ผู้ได้รับมอบหมายให้รับใบรายงานผล การตรวจทางห้องปฏิบัติการทางโทรสารมายังสาขาวิชาสาขาวิชาพยาธิวิทยาไว้เป็นหลักฐาน
การรายงานผลค่าวิกฤต
- การกำหนดค่าวิกฤตของการทดสอบ
สาขาวิชาฯ ร่วมกับแพทย์ทางคลินิก พิจารณาร่วมกันเพื่อกำหนดค่าวิกฤตของผลการทดสอบที่จำเป็นที่ ห้องปฏิบัติการจะต้องแจ้งให้ผู้ส่งตรวจรับทราบเป็นการเร่งด่วน และมีการทบทวนร่วมกันอย่างน้อย 1 ครั้งใน 12 เดือน - ขั้นตอนการปฏิบัติในการรายงานผลค่าวิกฤต
ค่าวิกฤต หมายถึง รายงานผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ที่จำเป็นจะต้องแจ้งโดยด่วน (สมาคมเทคนิคการแพทย์)
วิธีปฏิบัติ
- ตาม Flow chart ขั้นตอนการปฏิบัติในการรายงานค่าวิกฤต
- พยาบาลผู้รับแจ้งค่าวิกฤตรายงานแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยทราบโดยทันที พร้อมบันทึกการรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน