
ข้อปฏิบัติทั่วไป การขนส่งสิ่งส่งตรวจ
1. สถานที่รับสิ่งส่งตรวจ 1.1 จุดรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยใน ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารพยาธิวิทยา โทรศัพท์ 074-451561 โทรศัพท์ภายใน 1561 เปิดบริการทุกวันตลอด 24 ชม. 1.2 จุดจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยนอก ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารพยาธิวิทยา โทรศัพท์ 074-451560 โทรศัพท์ภายใน 1560 เปิดบริการตามเวลา ดังนี้ - วันราชการ บริการเจาะเลือดและรับสิ่งส่งตรวจ เวลา 06:30-20:30 น. - วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ บริการเจาะเลือดและรับสิ่งส่งตรวจ เวลา 07:00-12:00 น. - วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เฉพาะรับสิ่งส่งตรวจ เวลา 12:00-16:30 น. 1.3 จุดจัดเก็บและรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยล่วงหน้า ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารสูติ-กุมารเวช โทรศัพท์ภายใน 156441 เปิดบริการตามเวลา ดังนี้ - วันราชการ บริการเจาะเลือดและรับสิ่งส่งตรวจ เวลา 06:30-12:00 น. 1.4 ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรฉุกเฉินและฮอร์โมน ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคารรัตนชีวรักษ์ โทรศัพท์ 074-451500 ต่อ 170258 โทรศัพท์ภายใน 170258 เปิดบริการทุกวัน 24 ชม. 1.5 นำส่งโดยตรงที่ห้องปฏิบัติการนั้น ๆ ดูรายละเอียดได้ในแต่ละห้องปฏิบัติการ 2. การเขียนใบคำขอส่งการทดสอบ ข้อมูลในใบคำขอส่งทดสอบ/การสั่งตรวจทางระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย มีความสำคัญต่อการตรวจสอบและการแปลผล ผู้ขอจะต้องระบุรายละเอียดต่าง ๆ ข้างล่างนี้อย่างครบถ้วนและตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนนำส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการ ข้อมูลที่ต้องระบุ ได้แก่ - เลขที่ผู้ป่วย (HN) - อายุ เพศ วัน/เดือน/ปีเกิด - ชื่อแพทย์หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอส่งตรวจ - หน่วยงานที่ส่งตรวจ เช่น ชื่อคลินิก หอผู้ป่วย หรือสถานพยาบาลที่ส่งตรวจ - ชนิดและตำแหน่งที่เก็บสิ่งส่งตรวจ - รายการที่ขอตรวจ - การวินิจฉัยโรคหรือข้อมูลทางคลินิกที่จำเป็นสำหรับประสิทธิภาพการทดสอบและการแปลผล เช่น ประวัติครอบครัว การเดินทาง การสัมผัสโรคติดต่อ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์อื่น ๆ - วันที่ที่เก็บสิ่งส่งตรวจ - เวลา ที่เก็บสิ่งส่งตรวจ (ในบางรายการทดสอบที่จำเป็นต้องระบุ) - วันที่และเวลาที่ห้องปฏิบัติการได้รับสิ่งส่งตรวจ หากต้องการผลการทดสอบด่วนให้ระบุในใบคำขอให้ชัดเจน 3. การจัดเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วย ผู้จัดเก็บควรให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้ - การเตรียมผู้ป่วย ตามข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละการทดสอบ - การระบุตัวผู้ป่วยให้ถูกต้อง - ชนิดของสิ่งส่งตรวจ เช่น clotted blood หรือ EDTA blood เป็นต้น - ปริมาณของสิ่งส่งตรวจ ต้องเพียงพอต่อการทดสอบ - สภาวะแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม หากไม่ได้นำส่งห้องปฏิบัติการทันทีให้จัดเก็บตาม ข้อกำหนดของการทดสอบนั้น ๆ ในกรณีที่มีการสั่งตรวจการทดสอบที่ต้องใช้หลอดเลือดหลายชนิด ลำดับการใส่เลือดลงหลอดเก็บควรเป็นดังนี้ - ลำดับที่ 1 ขวดสำหรับ Blood culture - ลำดับที่ 2 หลอดสำหรับ Coagulation, Sodium citrate (จุกสีฟ้า) - ลำดับที่ 3 หลอดสำหรับ Clotted Blood (จุกสีแดง) - ลำดับที่ 4 หลอด Lithium heparin (จุกสีเขียว) - ลำดับที่ 5 หลอด EDTA (จกุ สีม่วง) - ลำดับที่ 6 หลอด Sodium fluoride (จุกสีเทา) 4. การนำส่งสิ่งส่งตรวจ 4.1 ผู้ส่งควรบรรจุสิ่งส่งตรวจที่เก็บจากผู้ป่วยให้เรียบร้อยในภาชนะขนย้ายที่ป้องกันการหกรั่ว หรือแตก แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่เกินเวลาที่กำหนด สำหรับการทดสอบแต่ละชนิด (ดูรายละเอียดแยกตามห้องปฏิบัติการ) นำส่งจุดรับสิ่งส่งตรวจตามรายละเอียดในข้อ 1 4.2 การนำส่งอาจให้เจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วยนำส่งด้วยตนเอง หรือนำส่งผ่านระบบท่อลม 4.3 ชนิดของสิ่งส่งตรวจเกือบทุกชนิด นำส่งผ่านระบบท่อลม ยกเว้น stool และ ขวดบรรจุ body fluid/ hemoculture 4.4 สิ่งส่งตรวจทางจุลชีววิทยาจากหอผู้ป่วยให้นำส่งโดยตรงที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก ชั้น 3 4.5 สำหรับสถานพยาบาลภายนอก ให้บรรจุในกล่องที่ไม่มีวัสดุโลหะ เช่น คลิปหนีบกระดาษหรือตัวหนีบและตรวจสอบวัตถุระเบิดที่โต๊ะหน่วยรักษาความปลอดภัย หน้าหน่วยประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลก่อนนำส่ง 5. การขอทดสอบเพิ่ม การขอทดสอบเพิ่มโดยใช้สิ่งส่งตรวจที่ส่งมาก่อนหน้านั้น สามารถติดต่อขอทดสอบเพิ่มได้ ด้วยการโทรศัพท์ติดต่อไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งส่งตรวจที่เหลือ มีเพียงพอและเหมาะสมที่จะใช้ทำการทดสอบเพิ่มหรือไม่ ควรติดต่อภายในวันเดียวกันหรือภายในระยะเวลาที่ห้องปฏิบัติการกำหนด เมื่อห้องปฏิบัติการได้ตรวจสอบและตกลงรับทำการทดสอบเพิ่มแล้ว จะบอกหมายเลขการทดสอบ (Lab No.) ของสิ่งส่งตรวจนั้น ๆ แก่ผู้แจ้งขอเพิ่มการทดสอบและขอให้ผู้ส่งตรวจดำเนินการ ดังนี้ 5.1 กรณีผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉิน ให้ปฏิบัติ ดังนี้ 5.1.1 แพทย์สั่งตรวจเพิ่มทางระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย 5.1.2 ให้ผู้ป่วยไปตรวจสอบสิทธิ์ หรือชำระเงินเพิ่ม ที่การเงินผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 5.1.3 ให้ผู้ป่วยมาติดต่อที่หน่วยรับสิ่งส่งตรวจ ชั้น 1 โดยมีบันทึกจากห้องตรวจว่าได้ติดต่อห้องปฏิบัติการแล้วไม่ต้องเจาะเลือดหรือเก็บสิ่งส่งตรวจเพิ่ม (กรุณาระบุหมายเลขการทดสอบลงในใบบันทึกด้วย เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำทดสอบ) 5.2 กรณีหอผู้ป่วย ให้ปฏิบัติ ดังนี้ 5.2.1 สั่งตรวจเพิ่มทางระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย 5.2.2 ส่ง บาร์โค้ด ที่บันทึกแล้วมาที่ จุดรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยใน ชั้น 1 โดยมีบันทึกว่าขอเพิ่มการทดสอบ ได้ติดต่อห้องปฏิบัติการแล้ว พร้อมระบุหมายเลขการทดสอบลงในใบบันทึกด้วย จุดรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยในจะลงทะเบียนด้วยระบบ บาร์โค้ด แล้วส่งไปยังห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องต่อไป 6. การส่งตรวจนอกเวลาราชการ การส่งตรวจนอกเวลาราชการสามารถส่งตรวจได้ตามเวลาและสถานที่ ในข้อ 1 โดยสาขาวิชาให้บริการเฉพาะการทดสอบที่จำเป็นพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยของ 7 ห้องปฏิบัติการหลัก ได้แก่ ห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก ห้องปฏิบัติการจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ห้องปฏิบัติการนิติเวชศาสตร์และพิษวิทยา ห้องปฏิบัติการภูมิคุ้มกันและไวรัสวิทยา ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา และห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรฉุกเฉินและฮอร์โมน และเปิดให้บริการการทดสอบ Anti-HIV rapid test สำหรับการทดสอบอื่น ๆ ที่ไม่เปิดบริการนอกเวลาหอผู้ป่วยควรจัดเก็บและส่งตรวจในเวลาราชการ กรณีต้องเก็บสิ่งส่งตรวจ พร้อมรายการทดสอบนอกเวลาราชการ ควรแยกสิ่งส่งตรวจนั้นและเก็บไว้ตามข้อกำหนดของวิธีการทดสอบ 7. การส่งตรวจของแผนกฉุกเฉิน นำส่งที่ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรฉุกเฉินและฮอร์โมนเฉพาะการทดสอบที่จำเป็นและเป็นการทดสอบพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยของ 2 ห้องปฏิบัติการหลัก ได้แก่ ห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกและห้องปฏิบัติการจุลทรรศนศาสตร์คลินิก สำหรับการทดสอบอื่น ๆ ที่ไม่เปิดบริการทางห้องปฏิบัติการจะรับสิ่งส่งตรวจไว้และส่งต่อให้จุดรับสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยใน แต่ไม่ลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจในระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย โดยผู้ส่งสามารถตรวจสอบการนำส่งที่ห้องปฏิบัติการนั้น ๆ โดยตรง 8. การส่งต่อห้องปฏิบัติการภายนอก สาขาวิชาฯ พิจารณาส่งต่อการทดสอบไปยังห้องปฏิบัติการภายนอกในกรณีที่จำเป็น และดำเนินการประเมินคุณภาพการบริการของห้องปฏิบัติการภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่าการส่งต่อห้องปฏิบัติการภายนอกมีคุณภาพตามความต้องการและสอดคล้องกับข้อกำหนดของวิธีการทดสอบ (ดูรายละเอียดได้จากข้อมูลของห้องปฏิบัติการต่าง ๆ) 9. ขั้นตอนการรับข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะต่อการบริการ ผู้รับบริการและบุคลากร สามารถระบุข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ - กล่องรับความคิดเห็น - ร้องเรียนโดยวาจา มาด้วยตนเองหรือทางโทรศัพท์ - หนังสือร้องเรียน จดหมาย - ข้อเสนอแนะหรือความเห็นจากการประชุมร่วมกัน - แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการและบุคลากร - การประชุมภายในห้องปฏิบัติการ - หน่วยผู้รับบริการสัมพันธ์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โทรศัพท์ 074-451040-4 หรือ 074-450000 ซึ่งมีหน้าที่รับเรื่อง ติดตาม ประสาน แก้ไขปัญหาการร้องเรียน ทั้งจากภายในและภายนอกโรงพยาบาล 10. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สาขาวิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อตระหนักถึงความรับผิดชอบทางกฎหมายและจริยธรรมในการรักษาความลับของข้อมูลทางห้องปฏิบัติการและผู้รับบริการ ดังนี้ 10.1 ไม่แสวงหาการเข้าถึง ทบทวน อภิปราย ทำสำเนา เปิดเผย หรือใช้ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในระหว่างหรือหลังจากการทำหน้าที่ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการ ยกเว้นต่อเมื่อได้รับมอบหมาย หรือเมื่อต้องใช้ดำเนินการในการปฏิบัติหน้าที่ในสภาวะปกติทั่วไปของห้องปฏิบัติการ 10.2 ในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจในการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูล ต้องไม่เปิดเผยผลการตรวจหรือข้อมูลอื่น ๆ ของผู้ป่วย ทั้งในทางวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่อผู้ที่ไม่ได้รับมอบหมายใด ๆ 10.3 ในฐานะผู้ปฏิบัติงานต้องดูแลปกป้องข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ไม่ให้มีการทำสำเนา การดัดแปลงการทำลาย การเผยแพร่หรือเปิดเผยข้อมูลโดยผู้ไม่ได้รับมอบหมายหรือผู้ไม่เกี่ยวข้อง และหากพบว่ามีการวางแผนเพื่อการกระทำดังกล่าว หรือมีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว ต้องรายงานหัวหน้าห้องปฏิบัติการทันที ข้อปฏิบัติทั่วไปในการรับและปฏิเสธสิ่งส่งตรวจของสาขาวิชาพยาธิวิทยา 1. เกณฑ์การรับและปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ 1.1 เกณฑ์การรับสิ่งส่งตรวจ เจ้าหน้าที่ผู้รับสิ่งส่งตรวจ ปฏิบัติ ดังนี้ 1.1.1 ตรวจสอบความถูกต้องของการระบุสิ่งส่งตรวจให้ถูกคน โดยตรวจสอบข้อมูล ชื่อ-สกุล และเลขที่ผู้ป่วย (HN) ในฉลากบนภาชนะให้ตรงกับข้อมูลผู้ป่วยในใบคำขอส่งตรวจ ทั้งชนิดเอกสาร และการส่งตรวจทางอิเล็กทรอนิกส์ 1.1.2 ตรวจสอบคุณภาพ ความถูกต้อง ความครบถ้วน และปริมาณสิ่งส่งตรวจ เทียบกับรายการทดสอบในใบคำขอส่งตรวจ ให้เป็นไปตามคู่มือการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 1.1.3 บันทึกชื่อผู้รับสิ่งส่งตรวจ วันที่และเวลาที่ได้รับ ก่อนแยกนำส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการ 1.1.4 ลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ โดยตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลที่สำคัญต่อการตรวจวิเคราะห์หรือการแปลผลก่อนการลงทะเบียนข้อมูลที่ต้องตรวจสอบความครบถ้วน ได้แก่ - เลขที่ผู้ป่วย (HN) - อายุ เพศ วัน/เดือน/ปีเกิด - ชื่อแพทย์หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอส่งตรวจ - หน่วยงานที่ส่งตรวจ - ชนิดและตำแหน่งที่เก็บสิ่งส่งตรวจ - รายการที่ขอตรวจ - การวินิจฉัยโรคหรือข้อมูลทางคลินิกที่จำเป็นสำหรับประสิทธิภาพการทดสอบและการแปลผล เช่น ประวัติครอบครัว การเดินทาง การสัมผัสโรคติดต่อ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์อื่น ๆ - วันที่ที่เก็บสิ่งส่งตรวจ - เวลา ที่เก็บสิ่งส่งตรวจ (ในบางรายการทดสอบที่จำเป็นต้องระบุ) - วันที่และเวลาที่ห้องปฏิบัติการได้รับสิ่งส่งตรวจ หากมีข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อการทดสอบหรือแปลผลไม่ครบถ้วนให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการติดตามข้อมูลและรายงานผลการทดสอบเมื่อได้รับข้อมูลดังกล่าวแล้ว 1.1.5 ในรายที่ขอผลการทดสอบ ด่วน ให้เจ้าหน้าที่จุดรับสิ่งส่งตรวจ ทำสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันกับห้องปฏิบัติการว่า ด่วน ที่ภาชนะให้เห็นชัดเจน เช่น พันสติ๊กเกอร์สีแดงรอบฝาหลอด หรือใส่ใน rack ด่วน เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบและรายงานผลตามแนวปฏิบัติการทดสอบที่ขอผลด่วนต่อไป 1.2 เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ สาขาวิชาฯ มีเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจเป็น 2 ระดับ ตามความวิกฤตต่อการทดสอบและการประสานงานเพิ่มเติมอีก 1 ระดับ ดังนี้ คือ 1.2.1 ระดับที่ 1 ปฏิเสธสิ่งส่งตรวจในรายที่วิกฤตต่อการทดสอบ เช่น ข้อมูลที่ บาร์โค้ด และข้างภาชนะไม่ตรงกัน สิ่งส่งตรวจไม่ได้คุณภาพตามที่ระบุในคู่มือการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการฯ สิ่งส่งตรวจที่เก็บไม่ตรงกับประเภทของการทดสอบ สิ่งส่งตรวจไม่เพียงพอต่อการทดสอบโดยผู้รับสิ่งส่งตรวจจะโทรศัพท์แจ้งขอให้ผู้ส่งจัดเก็บสิ่งส่งตรวจมาใหม่ โดยไม่ส่งสิ่งส่งตรวจนั้นกลับคืน ยกเว้น ผู้ส่งยืนยันที่จะใช้สิ่งส่งตรวจนั้นต่อ เพราะไม่สามารถเก็บใหม่ได้หรือเก็บยาก ผู้ส่งต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการยืนยันความถูกต้องของสิ่งส่งตรวจ ซึ่งมีแนวปฏิบัติ 2 ทางคือ 1.2.1.1 ผู้ส่งขอนำสิ่งส่งตรวจกลับไปแก้ไข ซึ่งต้องดำเนินการ ดังนี้ 1. ผู้รับจะส่งสิ่งส่งตรวจคืนพร้อมแบบฟอร์มการส่งคืนและยืนยันสิ่งส่งตรวจ รหัส SD-Fo-SU-center-01 2. ผู้รับบันทึก ในแบบบันทึกความผิดพลาดในการรับสิ่งส่งตรวจจากหอผู้ป่วย รหัส SD-Fo-SU-center-06 3. เมื่อผู้ส่งนำสิ่งส่งตรวจที่แก้ไขเรียบร้อยพร้อมแบบส่งคืนสิ่งส่งตรวจกลับมา ผู้รับเก็บบันทึกผลการยืนยันไว้ แล้วนำส่งสิ่งส่งตรวจดังกล่าวไปยังห้องปฏิบัติการ 1.2.1.2 ผู้ส่งขอมาแก้ไขเองที่หน่วยรับสิ่งส่งตรวจ ผู้รับจะดำเนินการต่อตาม ข้อ 2, 3 ในข้อ 1.2.1.1 1.2.2 ระดับที่ 2 เกณฑ์บางข้อที่ไม่สมบูรณ์ แต่ไม่วิกฤตต่อการทดสอบ เช่น ขาดข้อมูลการวินิจฉัยโรคหรืออาการทางคลินิก เวลาที่เก็บสิ่งส่งตรวจ (ซึ่งบางการทดสอบอาจไม่จำเป็น) ผู้รับสิ่งส่งตรวจจะโทรศัพท์แจ้งให้ผู้ส่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมและดำเนินการต่อตามข้อ 2, 3 ในข้อ 1.2.1.1 1.2.3 ประสานงานเพิ่มเติม เช่น ส่งสิ่งส่งตรวจมาไม่ครบตามรายการขอตรวจ ผู้รับจะโทรศัพท์แจ้งและรอการส่งมาเพิ่ม โดยจะทดสอบสิ่งส่งตรวจที่ส่งมาก่อนให้ก่อน